วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สื่อประกอบการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สื่อประกอบการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย          

                สื่อการสอนคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมาก เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่าสื่อที่เป็นนามธรรม นอกจากนี้เด็กปฐมวัยมีช่วงความสนใจสั้น จึงมีความคิดว่าควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำ ปฏิบัติการและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นสื่อการสอนจึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ในระดับปฐมวัย เพราะสื่อจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยหลายประเภท ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้

ความหมายของสื่อการสอน
                สื่อการสอนหมายถึง อุปกรณ์และเทคนิคหรือวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยให้การจัดการเรียนรู้บรรลุจุดมุ่งหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแบ่งออกได้หลายชนิดด้วยกัน เช่น สื่อที่เป็นวัสดุได้แก่ กระดาษ  กาว ตำรา แผนภูมิ รูปภาพ สื่อที่เป็นเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องเทป  เครื่องฉายสไลด์ การแสดง การละเล่น หุ่นละคร พวกนี้จะเป็นเครื่องมือที่เป็นกลไก นอกจากนี้ยังมีแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสภาพแวดล้อม บุคคลสถานที่ เช่น ห้องสมุด เป็นต้น

ประเภทของสื่อการสอน
                 ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยนั้น สื่อการสอนเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากเด็กปฐมวัยเรียนรู้ได้ดีจากการกระทำ การสัมผัสจับต้องด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กจะถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากประสบการณ์สู่การเรียนรู้ ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 อย่างดังนี้
1.  สื่อส่งเสริมพัฒนาการเฉพาะด้าน ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยมีอุปกรณ์ส่งเสริมดังนี้ ชิงช้า ไม้ลื่น ลูกบอล ลูกปัด ตัวต่อไม้บล็อกเป็นต้น
2.  สื่อประกอบการเรียนรู้  เป็นสื่อที่ครูจัดหาหรือพัฒนาขึ้นเพื่อประกอบการเรียนรู้ เช่น บัตรคำ  บัตรภาพ หุ่นมือ เป็นต้น สื่อประเภทนี้สามารถใช้สำหรับให้เด็กได้ค้นคว้าและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น
3.  สื่อเสริมการเรียนรู้  เป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือก ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการใช้ได้เอง เช่น เกมการศึกษา เครื่องเล่นเป็นชุด ไม้บล็อก รวมทั้งวัสดุจากธรรมชาติที่อยู่แวดล้อมตัวเด็ก

คุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อเด็กปฐมวัย
1.   ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะตรงกับความเป็นจริง และมีความหมายชัดเจน
2.   เรียนรู้ได้มากขึ้นในเวลาที่กำหนด
3.   เด็กปฐมวัยจำและประทับใจไม่ลืมง่าย
4.   ช่วยให้เด็กปฐมวัยสนใจ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
5.   ส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาในกระบวนการเรียนการสอน
6.   สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้สะดวก
7.   ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
8.   ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
9.   นำสิ่งที่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
10. นำอดีตมาใช้ศึกษาได้
                      สรุปจากความหมายของสื่อการสอน ประเภทของสื่อการสอน และคุณค่าของสื่อการสอน ที่กล่าวมานั้น เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยทั้งสิ้น เพราะสิ่งเหล่านี้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเด็กทั้งหมดล้วนแต่เป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น

        คุณค่าของสื่อการสอน
           สื่อการสอนทั้งวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ จะเป็นสิ่งที่ชวนส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก  ทำให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เรียนมากขึ้น  เด็กได้สัมผัสสื่อด้วยตัวเองได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครู
สื่อการสอนยังช่วยสนับสนุนพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์  ด้านสังคม  และด้านสติปัญญาให้กับเด็ก  ไม่ว่าจะเป็นสื่อประเภทวัสดุ อุปกรณ์  หรือการเล่น  ล้วนทำให้เด็กได้พัฒนาทักษะกลไกของร่างกาย  ได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ตามจินตนาการ  ทำให้เด็กสร้างองค์ความรู้ผ่านกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือทำนั้นได้
       คุณค่าหรือประโยชน์ของสื่อการสอนในการนำมาจัดการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย  มีอยู่มากมาย  แต่การที่จะทำให้สื่อการสอนเกิดประโยชน์สูงสุดหรือไม่นั้น  ขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจของผู้นำสื่อไปใช้

        คุณค่าของสื่อการสอนปฐมวัยมีดังนี้
  1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะตรงกับความเป็นจริง มีความหมายชัดเจน
  2. เด็กเรียนรู้ได้มากขึ้น
  3. เด็กเกิดความประทับใจ และไม่ลืมง่าย
  4. ช่วยให้เด็กสนใจและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
  5.  ส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหา
  6. เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้สะดวก
  7. ทำให้สิ่งที่ซับซ้อนง่ายขึ้น
  8. ทำนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
  9. ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
  10. ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงช้าให้เร็วขึ้น
  11. ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อขนาดลง
  12. ทำสิ่งที่เล็กมากให้ใหญ่ขึ้น
  13. นำอดีตมาใช้ศึกษาได้
  14. นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้

       หลักการจัดหาสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   1.  มีความหลากหลาย  โดยคำนึงวัย  พัฒนาการ  ความสนใจเป็นรายบุคคล  ควรเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เด็กได้คิด  ค้นหาคำตอบ  คิดสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
   2.  มีความปลอดภัย  ทั้งสีและกลิ่น  มีความแข็งแรง  ทนทานต่อการใช้งาน  ไม่แตกหักง่าย  มีขนาดเหมาะสม  ขอบและมุมของสื่อต้องเรียบมนเพื่อไท่ให้เกิดอันตรายต่อเด็ก
   3.  มีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบ  เด็กสามารถหยิบมาใช้ได้สะดวกด้วยตัวเอง
   4.  จำนวนสื่อ  ควรมีมากพอสำหรับเด็ก
   5.   การจัดซื้อสื่อ  ต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าว่ามีประโยชน์  มีประสิทธิภาพในการใช้งาน  และราคาไม่แพงเกินไป

     การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ ดำเนินการดังนี้
  1. เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะประเภทของสื่อ
  2. ฝึกให้เด็กหยิบสื่อออกมาใช้ได้เองและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
  3. ฝึกให้เด็กรู้ความหมายของรูปภาพหรือสีที่เป็นสัญลักษณ์แทนหมวดหมู่ประเภทของสื่อ เพื่อเด็กจะได้เก็บเข้าที่ได้ถูกต้อง
  4. ตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้แล้วทุกครั้งว่ามีสภาพสมบูรณ์ จำนวนครบถ้วนหรือไม่
  5. ซ่อมแซมสื่อชำรุดและทำเติมส่วนที่ขาดหายไปให้ครบชุด การพัฒนาสื่อ การพัฒนาสื่อเพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมในระดับก่อนประถมศึกษานั้น ก่อนอื่นควรได้สำรวจข้อมูลสภาพปัญหาต่าง ๆ ของสื่อทุกประเภทที่ใช้อยู่ว่ามีอะไรบ้างที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความต้องการ

   การวัดและการประเมินสื่อการเรียนการสอน
          ในที่นี้ จะกล่าวถึงการวัดและการประเมินผลสื่อการเรียนการสอนที่มีขั้นตอนการตรวจสอบที่พิถีพิถันเพื่อให้ได้สื่อที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง ในเบื้องแรก การตรวจสอบแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ คือ การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural) และการตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative) ดังจะได้กล่าวถึงรายละเอียดการตรวจสอบทั้งสองส่วนตามลำดับต่อไปนี้
          ขั้น 1 การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural basis)
          การตรวจสอบในขั้นนี้เป็นการตรวจสอบสิ่งที่ปรากฏในสื่อ ซึ่งสามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ถ้าส่วนที่ปรากฏภายในมีลักษณะชัดเจน ง่าย และสะดวกแก่การรับรู้ สื่อนั้นเป็นสื่อที่มีศักยภาพสูงในการสื่อสาร การตรวจสอบที่สำคัญในขั้นนี้ประกอบด้วยสองส่วนคือ ลักษณะสื่อและเนื้อหาสาระในสื่อ
          1. ลักษณะสื่อ
        ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการผลิตสื่อให้มีลักษณะต่างๆ คือ ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ การออกแบบ เทคนิควิธี และความงาม ดังนั้นในการตรวจสอบลักษณะสื่อ ผู้ตรวจสอบจะมุ่งตรวจสอบทั้งสี่ประเด็นข้างต้นเป็นหลัก
      - ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ                                                                                                                              
     -  มาตรฐานการออกแบบ (Design Standards)                                                                                                            
     -  มาตรฐานทางเทคนิควิธี (Technical standards)
     -  มาตรฐานความงาม(Aesthetic standards)
       2. เนื้อหาสาร
         เนื้อหาที่ปรากฏในสื่อจะต้องครบถ้วนและถูกต้อง ความถูกต้องนี้จะถูกต้องตามเนื้อหารสาระจริง ซึ่งอาจบอกขนาด ปริมาณ และหรือเวลา เป็นต้น สาระ หรือมโนทัศน์ที่สำคัญต้องปรากฏอย่างชัดเจน
          ขั้น 2 การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualilative basis)
เครื่องมือในการทดสอบคุณภาพสื่อการเรียนการสอน เครื่องมือที่นิยมใช้กันมามี แบบ คือ  
       - แบบทดสอบ 
       - แบบสังเกต                                                                                                                                                                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น