สื่อประกอบการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สื่อการสอนคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมาก เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่าสื่อที่เป็นนามธรรม นอกจากนี้เด็กปฐมวัยมีช่วงความสนใจสั้น จึงมีความคิดว่าควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำ ปฏิบัติการและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นสื่อการสอนจึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ในระดับปฐมวัย เพราะสื่อจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยหลายประเภท ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้
ความหมายของสื่อการสอน
สื่อการสอนหมายถึง อุปกรณ์และเทคนิคหรือวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยให้การจัดการเรียนรู้บรรลุจุดมุ่งหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแบ่งออกได้หลายชนิดด้วยกัน เช่น สื่อที่เป็นวัสดุได้แก่ กระดาษ กาว ตำรา แผนภูมิ รูปภาพ สื่อที่เป็นเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องเทป เครื่องฉายสไลด์ การแสดง การละเล่น หุ่นละคร พวกนี้จะเป็นเครื่องมือที่เป็นกลไก นอกจากนี้ยังมีแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสภาพแวดล้อม บุคคลสถานที่ เช่น ห้องสมุด เป็นต้น
ความสำคัญของสื่อ
1. เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่า นิยม หรือทักษะของผู้สอนไปสู่ผู้เรียน
3. เป็นเครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วย ความสนใจ และไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็นการ “เรียน”
4. เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และผู้เรียน ได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จำได้นาน
ประเภทของ สื่อการสอนแบ่งได้ 3 ประเภทคือ
1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ หมายถึง สื่อการสอนที่มีการสิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ฟิล์ม ภาพถ่าย ภาพยนตร์สไลด์ แผ่นป้าย เป็นต้น
2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ หมายถึง สื่อการสอนที่เป็นเครื่องมือ เป็นครุภัณฑ์ ซึ่งได้แก่ เครื่องขยายเสียง เครื่องรับวิทยุ เครื่องบันทึกเทปเสียง เครื่องฉายข้ามศรีษะ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เช่น กระดานหก กระดานดำ กระบะทราย เป็นต้น
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการหรือกระบวนการ ได้แก่ การจัดแบบการสาธิต การทดลอง เกม และกิจกรรมต่างๆ การจัดสถานการณ์จำลอง การเล่นบทบาทสมมติ การจัดศูนย์การเรียน รวมถึงกิจกรรมที่ผู้เลี้ยงดูเด็กจัดขึ้นโดยมุ่งเน้น ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งผู้เลี้ยงดูเด็กอาจใช้สื่อประเภทวัสดุและอุปกรณ์มาประกอบ ในวิธี การหรือกระบวนการที่ผู้เลี้ยงดูเด็กจัดก็ได้
วิธีการเลือกใช้สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย
การจะเลือกใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ในเบื้องต้นผู้เลี้ยงดูเด็กจะ ต้องตระหนักและเข้าใจว่าเด็กปฐมวัยเป็นที่เพิ่งเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่เป็น พื้นฐานของการปรับตัวเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ดังนั้นการจะสอนให้เด็กปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ต้องเข้าใจพื้นฐานพัฒนาการของเด็กว่า เด็กยังแยกแยะสิ่งที่พบเห็นไม่ออก ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเลือกใช้สื่อเพื่อเปรียบเทียบให้เด็กเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งต่าง ๆ หรือการสอนความรู้ความเข้าใจเรื่องจำนวน การให้เด็กดูสัญลักษณ์ตัวเลข ควรเป็นเพียงการสร้างความคุ้นเคยเบื้องต้น แต่การสอนให้รู้จักจำนวน ควรใช้สื่อที่เด็กสนใจ เช่น ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะเล่านิทานแล้วสอดแทรกเรื่องจำนวนในนิทาน อาจจะเป็นการนับจำนวนสัตว์ สิ่งของเป็นต้น การเลือกสื่อการสอนประเภทวัสดุ สื่อการสอนประเภทวัสดุกับเด็กปฐมวัย สื่อประเภทวัสดุมีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัย เพราะเป็นเครื่องช่วยในการเรียนรู้ของเด็ก และเป็นสื่อซึ่งก่อให้เกิดความรู้เบื้องต้นแก่เด็กวิชาต่าง ๆ ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สุขศึกษา ธรรมชาติศึกษา สังคมศึกษา ศิลปะ เพลง ดนตรี จังหวะเคลื่อนไหว และเกมการเล่น วัสดุที่ใช้เป็นสื่อการสอน ได้แก่ วัสดุท้องถิ่น วัสดุเหลือใช้ วัสดุทำขึ้นเอง และวัสดุซื้อมาด้วย ราคาสูง วัสดุท้องถิ่น วัสดุท้องถิ่น หมายถึง สิ่งของที่มีอยู่ในท้องถิ่นตามภูมิประเทศ ซึ่งจะแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละภูมิประเทศ วัสดุท้องถิ่นที่เราพบเห็นในท้องถิ่นต่าง ๆ ได้แก่ เปลือกหอย ก้อนหิน ปะการัง ทราย ก้อนแร่ ใบไม้ เม็ดมะกล่ำตาหนู ฟาง รังนก ต้นอ้อ เปลือกมะพร้าว ผลตาลแห้ง ก้านกล้วย ใบตอง ทางมะพร้าว เป็นต้น
คุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อเด็กปฐมวัย
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะตรงกับความเป็นจริง และมีความหมายชัดเจน
2. เรียนรู้ได้มากขึ้นในเวลาที่กำหนด
3. เด็กปฐมวัยจำและประทับใจไม่ลืมง่าย
4. ช่วยให้เด็กปฐมวัยสนใจ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
5. ส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาในกระบวนการเรียนการสอน
6. สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้สะดวก
7. ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
หลักการจัดหาสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. มีความหลากหลาย โดยคำนึงวัย พัฒนาการ ความสนใจเป็นรายบุคคล ควรเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เด็กได้คิด ค้นหาคำตอบ คิดสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
2. มีความปลอดภัย ทั้งสีและกลิ่น มีความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน ไม่แตกหักง่าย มีขนาดเหมาะสม ขอบและมุมของสื่อต้องเรียบมนเพื่อไท่ให้เกิดอันตรายต่อเด็ก
3. มีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบ เด็กสามารถหยิบมาใช้ได้สะดวกด้วยตัวเอง
4. จำนวนสื่อ ควรมีมากพอสำหรับเด็ก
5. การจัดซื้อสื่อ ต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าว่ามีประโยชน์ มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และราคาไม่แพงเกินไป
การใช้สื่อในการดำเนินกิจกรรม
สื่อกิจกรรม หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการลงมือกระทำ สื่อการสอนมีความหมายกว้างขวาง ครอบคลุมทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้เรียน กิจกรรมหรือวิธีการนับเป็นสื่อการสอนที่มีศักยภาพสูงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้บทเรียนดำเนินไปอย่างสนุกสนาน น่าสนใจ ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสร่วมในกิจกรรมตลอดเวลา การใช้วิธีการหรือกิจกรรมเพื่อการเรียนการสอนอาจต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์เข้ามาช่วย เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ
1. เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะประเภทของสื่อ
2. ฝึกให้เด็กหยิบสื่อออกมาใช้ได้เองและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
3. ฝึกให้เด็กรู้ความหมายของรูปภาพหรือสีที่เป็นสัญลักษณ์แทนหมวดหมู่ประเภทของสื่อ เพื่อเด็กจะได้เก็บเข้าที่ได้ถูกต้อง
4. ตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้แล้วทุกครั้งว่ามีสภาพสมบูรณ์ จำนวนครบถ้วนหรือไม่
5. ซ่อมแซมสื่อชำรุดและทำเติมส่วนที่ขาดหายไปให้ครบชุด การพัฒนาสื่อ การพัฒนาสื่อเพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมในระดับก่อนประถมศึกษานั้น ก่อนอื่นควรได้สำรวจข้อมูลสภาพปัญหาต่าง ๆ ของสื่อทุกประเภทที่ใช้อยู่ว่ามีอะไรบ้างที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความต้องการ
แนวทางการพัฒนาสื่อ
1. ปรับปรุงสื่อให้ทันสมัยเข้ากับเหตุการณ์ ใช้ได้สะดวก ไม่ซับซ้อนเกินไป เหมาะสมกับวัยของเด็ก
2. รักษาความสะอาดของสื่อถ้าเป็นวัสดุที่ล้างน้ำได้เมื่อใช้แล้วควรได้ล้างเช็ด หรือปัดฝุ่นให้สะอาดเก็บไว้เป็นหมวดหมู่ วางเป็นระเบียบ หยิบใช้ง่าย
3. ถ้าเป็นสื่อที่ผู้เลี้ยงดูเด็กผลิตขึ้นมาใช้เองและผ่านการทดลองใช้มาแล้ว ควรเขียนคู่มือประกอบการใช้สื่อนั้น โดยบอกชื่อสื่อ ประโยชน์และวิธีใช้ รวมทั้งจำนวนชิ้นส่วนของสื่อในชุดนั้น และเก็บคู่มือไว้ในซองหรือถุงพร้อมสื่อที่ผลิต
4. พัฒนาสื่อที่สร้างสรรค์ ใช้ได้อเนกประสงค์ คือเป็นได้ทั้งสื่อเสริมพัฒนาการ และเป็นของเล่นสนุกสนานเพลิดเพลินสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
1. ความเหมาะสม
2. ความถูกต้อง
3. ความเข้าใจ
4. ประสบการณ์ที่ได้รับ
5. เหมาะสมกับวัย
6. เที่ยงตรงในเนื้อหาที่ครูสอน
7. ตรงกับความต้องการของเด็ก
ข้อควรระวังในการเลือกสื่อ
1. วัสดุที่ใช้ต้องไม่มีสารพิษและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็ก
2. ขนาดพอเหมาะ น้ำหนักไม่มากเกินไป
3. รูปทรงไม่แหลม หรือมีเหลี่ยม
4. สีที่ใช้ต้องไม่เป็นอันตรายต่อสายตา
หลักการจัดสื่อประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
1. ประสบการณ์การเรียนรู้ควรให้สอดคล้องกับพัฒนาของผู้เรียน
2. ประสบการณ์การเรียนรู้ควรให้เหมาะสมกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
3. ประสบการณ์การเรียนรู้ควรจัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสิ่งที่เรียน และควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นและมีคุณธรรม
4. ประสบการณ์ที่จัดควรเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
5. กิจกรรมที่นำมาใช้ในการจัดประสบการณ์ ควรมีวิธีใช้แรงจูงใจ เร้าความสนใจของผู้เรียน ไม่ซ้ำซาก ควรให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน เน้นการปฏิบัติและการได้ร่วมกิจกรรมมากที่สุด
6. ควรหาแนวทางในการประเมินผลที่เหมาะสมจากสื่อการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไม่ว่าจะเป็นประเภทของสื่อ การเก็บรักษาสื่อ แนวทางการพัฒนาสื่อ สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย ข้อควรระวังในการเลือกสื่อ และหลักการจัดสื่อประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย พ่อแม่ผู้ปกครอง ครูสามารถจัดหาสื่อให้กับเด็กได้เรียนรู้สื่อเกี่ยวกับทักษะทางคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา และหลังจากใช้สื่อเสร็จแล้ว ทุกครั้งหลังใช้สื่อครูควรเก็บรักษาให้สะอาดเรียบร้อยและเป็นระเบียบ ควรมีการตรวจสอบซ่อมแซมสื่อทุกครั้งก่อนการใช้งานหรือหลังการใช้งาน เพื่อป้องการให้เด็กได้รับอุบัติเหตุ และครูควรตรวจดูสื่อว่าใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กมากน้อยเพียงใดและเด็กให้ความสนใจกับสื่อที่ครูนำมาสอนหรือไม่
การวัดและการประเมิน
1. การประเมิน เนื้อหาของสื่อมีความยากง่ายเหมาะสมกับระดับชั้น/ช่วงชั้น
2. การประเมิน กิจกรรมมีความสอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียน
3. การประเมิน ชิ้นงาน อุปกรณ์ หรือสิ่งประดิษฐ์ที่ผู้สอนวิเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนการทำงาน และเสนอแนวทางเพื่อพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
4. การประเมิน จากความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการในการประดิษฐ์สื่อการสอน
5. การประเมิน โดยเน้นการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง ที่ครอบคลุมทั้งการทดสอบ การนำเสนอผลงานในชั้นเรียน การแก้ปัญหา การทำภาระงานที่ได้รับมอบหมาย การทำกิจกรรมต่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น